
เด็กหนุ่มคนหนึ่ง เป็นชาวสงขลา เรียนเก่งมาก ได้ทุนไปเรียนอเมริกา
ตั้งแต่เด็กจนจบด็อกเตอร์ จึงกลับมาเยี่ยมบ้าน บ้านของเด็กหนุ่ม
อยู่อีกฟากหนึ่งของทะเลสาบสงขลา ต้องนั่งเรือแจวข้ามไป
เด็กหนุ่มพูดขึ้นว่า:“เรือที่ติดเครื่องยนต์ไม่มีเหรอลุง?”
ลุงตอบกลับ เด็กหนุ่ม:“ไม่มีหรอกหลาน ที่นี่มันบ้านนอก
มันห่างไกลความเจริญมีแต่เรือแจว”
เด็กหนุ่ม:“โอ..ล้าสมัยมากเลยนะลุง โบราณมาก ที่อเมริกา
เขาใช้เครื่องบินกันแล้วลุง ลุงยังมานั่งแจวเรืออยู่อีก
ไปส่งผมฝั่งโน้นเอาเท่าไหร่ลุง?”
ลุง:“80บาท”
เด็กหนุ่ม:“OK..ไปเลยลุง”
ในขณะที่ลุงแจวเรือ หนุ่มนักเรียนนอก ก็เล่าเรื่องความทันสมัย
ความก้าวหน้าความศิวิไลช์ของอเมริกาให้ลุงฟัง
“เมืองไทย..เมื่อเทียบกับอเมริกาแล้ว ล้าสมัยมาก ไม่รู้คนไทย
อยู่กันได้ยังไง? ทำไมไม่พัฒนา ทำไมไม่ทำตามเขา
เลียนแบบเขาให้ทัน?
เด็กหนุ่ม:ลุง..ลุงใช้คอมพิวเตอร์ ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นไหม?“
ลุง:“ไม่รู้หรอก..ใช้ไม่เป็น”
เด็กหนุ่ม:“โอโฮ้..ลุงไม่รู้เรื่องนี้น่ะ ชีวิตลุงหายไปแล้ว 25%”
“แล้วลุงรู้ไหมว่า เศรษฐกิจของโลกตอนนี้เป็นยังไง?”
ลุง:“ลุงไม่รู้หรอก”
เด็กหนุ่ม:“ลุงไม่รู้เรื่องนี้นะ ชีวิตของลุงหายไป 50%”
“ลุง..ลุงรู้เรื่องนโยบายการค้าโลกไหมลุง?“
“ลุง..ลุงรู้เรื่องดาวเทียมไหมลุง?“
“ลุงไม่รู้หรอก..หลานเอ๊ย”
“ชีวิตของลุง ลุงรู้อยู่อย่างเดียว ว่าจะทำยังไง ถึงจะแจวเรือ
ให้ถึงฝั่งโน้น ถ้าลุงไม่รู้เรื่องนี้ ชีวิตของลุงหายไปแล้ว 75%”
พอดีช่วงนั้น เกิดลมพายุพัดมาอย่างแรง คลื่นลูกใหญ่มาก
ท้องฟ้ามืดครึ้ม
ลุง:“นี่พ่อหนุ่ม เรียนหนังสือมาเยอะ จบด็อกเตอร์จากต่างประเทศ
ลุงอย ากถามอะไรสักหน่อยได้ไหม?“
เด็กหนุ่ม:“ได้..จะถามอะไรหรือลุง“
“เอ็งว่ายน้ำเป็นไหม?“
“ไม่เป็นจ๊ะ..ลุง”
“ถ้างั้นชีวิตของเอ็ง กำลังจะหายไป 100% แล้วพ่อหน่ม”
อย่าคิดว่าตัวเราเหนือกว่าคนอื่น เพียงแค่มีการศึกษาสูง
ยังมีประสบการณ์ชีวิต ที่ต้องศึกษาอีกมาก แม้จะไม่มีใบประกาศมอบให้
ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด สำนวนนี้หมายถึงคนที่มีวิชาความรู้ดี
หรือรู้สารพัดเกือบทุกอย่าง แต่ถึงคราวเกิดเรื่อง
มีปัญหาขึ้นกับตัวเอง กลับจนปัญญา แก้ไข
หรือมีความหมายอีกทางหนึ่งว่า..มีความรู้อยู่มากมาย
แต่ใช้วิชาหากินไม่ถูกช่อง ทำให้ต้องตกอยู่ในฐานะที่ลำบาก
ย ากจนเรื่อยมา สู้คนที่ไม่รู้หนังสือเลย แต่หากินจนร่ำรวยได้
จึงเป็นที่มาของสุภาษิต สำนวนไทยที่ว่า ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
“คนฉลาด..ย่อมไม่อวดวิเศษ แม้แต่น้อย อ่อนน้อมถ่อมตนเอง
ย่อมมีอะไรดีกว่าการอวดเบ่งเป็นแน่”
ขอบคุณ : sabaisabuy